JustMakeWeb.com รับทำเว็บไซต์ รับทำเว็บโรงแรม รับทำเว็บขายของ รับทำเว็บบริษัท เว็บสำเร็จรูป รับทำเว็บร้านค้า ออกแบบเว็บไซต์ ใช้งานได้ง่าย รองรับ SEO โปรโมท GOOGLE ให้ติดอันดับได้อย่างรวดเร็ว , ลงโฆษณาฟรี VPS ราคาถูก
รับทำเว็บไซต์
0
สถิติเว็บไซต์
เปิดเว็บเมื่อ : 2007-03-05
จำนวนสมาชิก : 579 คน
ปรับปรุงเมื่อ : 2024-12-06
จำนวนครั้งที่ชม : 14,172,529 ครั้ง
Online : 105 คน
จำนวนสินค้า : 346 รายการ
ทะเบียนพาณิชย์
สนใจ สงสัย ไลน์ มาได้

 
  ID ระบบ : @440aburo
ร้านค้า
ถูกใจ Like เลย
มอเตอร์ไซด์ไฟฟ้า จดทะเบียน
รวมผลงานบน YouTube
รวมบทความและผลงาน
โฆษณา Google Adsense


พื้นที่โฆษณา แลกลิ้งค์




 
แนวทางการตรวจเช็ครถไฟฟ้า แบบง่ายๆ และสิ่งที่เราต้องรู้ ก่อนจะหาซื้ออ่ะไหล่ มาเปลี่ยน

      1. Motor เป็นแบบ DCMotor 2 สาย หรือ Brushless Motor 3 สาย (จริงๆ 6 สาย คือ 3 สายเมน และ 5 สายเล็ก) และ ขนาดกี่โวล์ กี่ วัตต์  หาว่ากีโวล์ท นั้นไม่ยาก ให้ดู ข้อมูลที่กล่องควบคุม หรือดูที่แบตเตอรี่ได้เลย...

     อาการและการตรวจเช็ค (กรณีแบต ปกติ)  : 

 
1.1  DCMotor 2 สาย 1.2  Blushless Motor 3 สาย 1.3  มีทั้ง 2 แบบ ทั้ง 2 สาย และ 3 สาย
ถ้าไม่หมุน ง่ายๆ ต่อตรงกับ Battery ดู ว่าทำงานไหม ถ้าทำงานก็ กล่อง หรือคันเร่ง อาจจะเสีย หมุนสะดุดๆ ครางๆ เป็นไปได้ว่า กล่องควบคุมอาจจะเสีย หรือ ตัว Sensor ในมอเตอร์เสียเอง แยกให้ออกว่ากี่สาย แล้วดูแนวทางปฏิบัติตาม
ที่กล่าวมาทั้งสอง
   
      1.1  DCMotor 2 สาย

            






   โครงสร้างหลักภายในมี ทุ่นขดลวดทองแดง  แปรงถ่าน และ แม่เหล็ก ส่วนใหญ่อาการที่เสีย คือ

  1.1.1 มอเตอร์หมุนไม่มีกำลัง หมุนสะดุดๆ อาจจะเป็นที่แปรงถ่านหมด แต่ถ้าแปรงถ่านปกติ แม่เหล็ก ปกติ

  1.1.2  กินกระแสสูงผิดปกติ เป็นไปได้ ว่าขดลวดช็อตรอบ หรือไหม้ ไปแล้ว ต้องทำการพันใหม่ เป็นต้น

  1.1.3 ไม่หมุนเลย ติดขัด แม่เหล็กอาจจะแตก สีทุ่น หรือ เฟืองเกียร์ ลูกปืน แตก เป็นต้น

  1.1.4  อื่นๆ เช่นสายไฟขาดหลุด ไม่ครบวงจร...



      




    1.2   Brushless Motor 3 สาย (ไม่มีเกียร์ภายใน)
    
      


      โครงสร้างหลักภายใน จะไม่มีแปรงถ่าน มีทุ่นขดลวด และ แม่เหล็ก ตามแบบฉบับพื้นฐานมอเตอร์ แม่เหล็กถาวร มอเตอร์แบบนี้เสียยาก ถ้าน้ำไม่เข้า กัดกิน ทองแดง หรือ เกิดสนิมภายใน อาการที่พบเจอหลักๆ คือ  อาการหมุนสะดุดๆ กระตุกๆ ครางๆ ครืดๆ เป็นไปได้หลักๆ 2 กรณี คือ

    1.2.1 Hall Sensor เสีย  สามารถตรวจเช็คได้ (ตามลิ้งไปดู) แนวทางแก้ไข คือเปลี่ยนเซนเซอร์ ตัวนี้ ที่เสีย หรือ ไม่ก็เปลี่ยนกล่องควบคุม เป็นแบบที่ไม่ต้อง ต่อเซนเซอร์ (sensor less) ก็ใช้งานได้แล้ว

    1.2.2 สายเฟส เมนของมอเตอร์ ขาดใน ไม่ครบวงจร คือสายเหลือง  เขียว  น้ำเงิน อาจจะมีบางเส้นขาด หลวม วิธีเช็คแบบง่ายๆ เลย คือ หาหลอดไฟ 12V มาต่อกับสายมอเตอร์ ทีละคู่  แล้วหมุนมอเตอร์ดู หลอดไฟจะติดสว่าง เพราะมอเตอร์แบบนี้ผลิตไฟฟ้าได้ เช่น เขียว - เหลือง , น้ำเงิน - เหลือง , เขียว - น้ำเงิน   เช็คทุกคู่ ถ้าไม่มีหลอดไฟ อนุโลม ให้เอาสานช็อตกันเอง ทำทุกคู่ แต่หมุนค่อยๆ ถ้าสาย ปกติในเบื้องต้น มอเตอร์จะหนืด หมุนไม่ไป เพราะ มันเบรคตัวเอง Back EMF ในตัวเอง 

    1.2.3 หากมอเตอร์ไม่หมุนเลย หรือ ฝืดๆ เป้นไปได้ว่าลูกปืนแตก ส่งผลให้แกน ไม่ได้ศูนย์ ทำให้ทุ่นสีแม่เหล็ก  หรือ มีเศษเหล็ก ติดค้างขัดทุ่น  ...ถ้าทุกอย่างปกติ ก็เป้นไปได้ว่ากล่องควบคุม หรือ คันเร่ง เสียเอง (ต้องแน่ใจว่าแบตปกติ และไฟเข้าระบบพร้อมทำงานแล้ว)

 

     2. กล่องควบคุม เมื่อเรารู้ว่ามอเตอร์ เป็นแบบไหน สเปคเท่าไร เราก็จะ เลือกใช้กล่องควบคุมได้ตามมา เพียงแต่กล่องควบคุมแบบ Brushless Motor จะต้องดูเรื่อง องศาของกล่องเดิม 60° หรือ 120° ( เรื่ององศานี้ ผมกล่าวอธิบายไว้แล้ว) ถ้าเลือกได้ ใช้กล่องแบบ Sensorless จบปัญหาเรื่องเฟสไม่ตรง องศาไม่ได้ หรือ ฮอลล์เซนเซอร์เสีย เป็นต้น

    อาการและการตรวจเช็ค (กรณีแบต และมอเตอร์ ปกติ)  :

 
               
2.1 กล่องควบคุม DCMotor 2.2 กล่องควบคุม Brushless Motor

   2.1  อาการที่พบเจอมี 2 แบบหลักๆ คือ ไม่ทำงานกับ ช็อตไปเลย ควบคุมมอเตอร์ไม่ได้ หมุนเต็มที่ ทั้งหมดอาจจาก กล่องควบคุมหรือคันเร่งก็ได้  สาเหตุที่มักเจอคือ มอสเฟตเสียช็อตไหม้

  2.2  อาการที่พบคือ มอเตอร์ทำงานไม่สมบูรณ์ ครางๆ อาจเป็นที่กล่องควบคุม หรือมอเตอร์ และแบบที่ไม่ทำงานเลย ก็อาจจะเป็นที่กล่องควบคุมหรือคันเร่งก็ได้ สาเหตุที่มักเจอคือ มอสเฟตเสียช็อต เป็นบางเฟส

 

    3. คันเร่ง  นั้นไม่ยากเลยครับ พื้นฐานก็ใช้รุ่น 3 สายธรรมดา ใส่ได้เลย ที่พิเศษ ก็จะมีไฟโชว์แบต ก็เลือก ให้ถูกต้องสัมพันธ์ กับแรงดันที่เราใช้ในระบบ เท่านั้นเอง ส่วนจะสไตล์ไหน อย่างไร ก็แล้วแต่ความชอบล่ะ

   อาการและการตรวจเช็ค :
  
    การตรวจเช็คคันเร่ง หลักๆ คือ หาสามสาย ใช้งานหลัก ให้เจอ แล้วป้อนแรงดัน 5V เข้าที่ สายแดง ดำ (แดงบวก ดำลบ) หรือง่ายๆ ถ้ามีกล่องควบคุม ที่ยังมีแรงดันไฟเลี้ยงคันเร่งอยู่ก็ ต่อวัดกับกล่องควบคุมไปเลยก็ได้ (เอาไฟเลี้ยง จากกล่องควบคุม) จากนั้นก็ วัดแรงดัน สายที่เหลือ ซึ่งตามรูปตัวอย่างคือสาย น้ำเงิน แล้วลองบิดคันเร่งดู ถ้าคันเร่งปกติ จะมีแรงดัน สวิงตามการบิด 1- 4 V แบบลิเนียร์ หรือนิ่มนวล ไม่สะดุด หรือกระชาก

    หากเป็นคันเร่งแบบมีวัดไฟแบต หรือมีสวิทช์ลูกเล่นต่างๆ ด้วยก็ ไม่ต่างกัน ให้หาสายใช้งานหลัก สามสายแล้วทดสอบตามที่แนะนำ

  


 

4. Battery  ก็เลือกให้มีแรงดันใช้งาน ให้ตรงตามที่ระบบต้องการ ตามข้อแรกๆ ที่กล่าวมา จะใช้กี่ Ah นั้นก็เลือกดูความเหมาะสม ว่ามอเตอร์เรากินไฟมากน้อยเท่าไร แล้วเราต้องการวิ่งใช้งานนานเท่าไร Ah ยิ่งเยอะยิ่งดี แต่จะหนักเท่านั้นเอง และดูการจ่ายไฟแบตด้วยว่าสามารถจ่าได้กี่ C ได้เพียงพอกับกระแสมอเตอร์ ช่วงออกตัว กินกระแสพีคไหม เผื่อไว้เสปคไว้ประมาณ 2 -3 เท่า ถ้ามีงบ หน่อยก็ไปหา ลิเทียม เบาๆ ดีๆ เทพๆ มาใส่ครับ ง่ายไหมล่ะ ฮาาา...

 
อาการและการตรวจเช็ค :

 
         
แบบตะกั่ว SLA วิธีเช็คก็วัดทีละลูกง่ายๆ หาหลอดไฟวัตต์สูง เช่นหลอดไฟหน้ารถยนต์
มาต่อกับแบตแต่ละลูกในระบบเลย ลูกไหนเสื่อมไฟ ก็จะวูบเร็วหรือไม่ติด
แบตพวกลิเทียม พวกนี้จะเข็คยากหน่อยเพราะ มีวงจร BMS คอยตัดระบบ ควบคุมการจ่ายกระแสของเซลล์แบตภายใน ถ้าจะเสียก็มี 2 กรณี คือเซลล์ภายในเสื่อม หรือไม่ก็ตัว BMS เสียซะเอง

 

    
ท้ายสุด.. อาจจะหาเครื่องมือ ตัวช่วย เป็นเครื่องมือ สำหรับช่างรถไฟฟ้าโดยตรงไว้ช่วย วัด ช่วยเช็คมอเตอร์ เซนเซอร์ต่างๆ คันเร่ง และ กล่องควบคุม เรียกว่าง่าย ใช้งานครอบจักรวาล  -----> เครื่องมือเทสอุปกรณ์รถไฟฟ้า e-Bike Tester

  
 
   รวมคลิบ ตัวอย่างซ่อมรถไฟฟ้า ผมจะทยอยนำมาลงไว้เพื่อเป็นข้อมูลผู้สนใจสามารถเข้าดูได้ต่อไป !!
 
    
 
    
 
    
 
    
 
    

    

    


อ่านแล้วชอบใจตามไปกด ถูกใจ yes เป็นกำลังใจให้ Admin กันได้นะครับ - - - - - > คลิ๊ก
 
หากท่านใดสนใจรายละเอียดหรือทำโปรเจค ยินดีให้คำปรึกษาได้ครับ ที่เบอร์ 084-1468656 (เอกชัย)