JustMakeWeb.com รับทำเว็บไซต์ รับทำเว็บโรงแรม รับทำเว็บขายของ รับทำเว็บบริษัท เว็บสำเร็จรูป รับทำเว็บร้านค้า ออกแบบเว็บไซต์ ใช้งานได้ง่าย รองรับ SEO โปรโมท GOOGLE ให้ติดอันดับได้อย่างรวดเร็ว , ลงโฆษณาฟรี VPS ราคาถูก
รับทำเว็บไซต์
0
สถิติเว็บไซต์
เปิดเว็บเมื่อ : 2007-03-05
จำนวนสมาชิก : 578 คน
ปรับปรุงเมื่อ : 2024-03-27
จำนวนครั้งที่ชม : 12,998,690 ครั้ง
Online : 42 คน
จำนวนสินค้า : 331 รายการ
ทะเบียนพาณิชย์
สนใจ สงสัย ไลน์ มาได้

 
  ID ระบบ : @440aburo
ร้านค้า
ถูกใจ Like เลย
มอเตอร์ไซด์ไฟฟ้า จดทะเบียน
รวมบทความและผลงาน
โฆษณา Google Adsense


พื้นที่โฆษณา แลกลิ้งค์




การออกแบบ วงจรเสริมระบบ PAS Sensor และ คันเร่ง (รถไฟฟ้าไฮบริดจ์ / ธรรมดา)

2015-09-10 18:13:43 ใน วงจรแปลงระบบ PAS Sensor และ คันเร่ง » 0 5807  
การออกแบบ  วงจรเสริมระบบ PAS Sensor และ คันเร่ง (รถไฟฟ้าไฮบริดจ์ / ธรรมดา)
 
เนื่องจาก รถจักรยานไฟฟ้าบางคัน (ไฮบริดจ์ญี่ปุ่น) จะไม่มีคันเร่ง จะมีเฉพาะระบบปั่นเท้าหรือที่เราเรียกว่า PAS Sensor นั่นเอง แต่บางคร้งเราต้องการใช้คันเร่งด้วย หรือบางคันก็มีเฉพาะคันเร่ง แต่อยากใช้ระบบแบบปั่นไปด้วยได้ หรือจะปั่นด้วยบิดด้วยเลย แล้วจะทำอย่างไรกันดีล่ะทีนี้ ความต้องการเยอะซะจริงเลย ..... จึงต้องคิดค้นกันต่อไป โดยหลักการคร่าวๆ คือเราต้องรู้ว่าสัญญาณที่มันออกจาก ชุด PAS ตอนที่เราปั่นช้า ปั่นเร็ว มันหน้าตาเป็นอย่างไร เราก็ทำวงจรที่มันรับสัญญาณจากคันเร่ง แล้วให้มีเอ้าพุท ออกเลียนแบบสัญญาณที่มันออกจาก PAS Sensor นี้นั่นเองครับ ซึ่งตอนนี้ผมพอจะทราบแล้วว่าสัญญาณ O/P ที่ออกจาก PAS Sensor ตอนที่เราปั่นนั้มันเป็น Pluse แบบดิจิตอล "0" และ "1" นั่นเอง เพียงแต่ความถี่นั้นเร็วมาก น้อยแค่ไหน ก็ขึ้นกับความเร้วรอบขาที่เราปั่น ฉะนั้นเราจึงต้องหา ออกแบบวงจรที่รับแรงดันจากคันเร่ง คือ 1-4V และให้แปรผันเป็นความถี่ให้ได้เทียบเท่ากับ สัญญาณ O/P ของ PAS Sensor และกรณีอยากจะมีระบบ PAS เราก็ใช้วงจรแปลงกลับจากในรูปแบบ ที่เป็นความถี่จาก Sensor ที่จานปั่น (PAS) นั้นให้แปลงกลับมาเป็นแรงดัน 1-4V ให้เหมือนกับแรงดันที่ออกจากคันเร่งซะก็จบแล้ว ซึ่งหากผลงานคืบหน้าประการใดจะ นำข้อมุล วงจรมาเผยแพร่ให้ทราบเพื่อเป็นควาใรู้สืบไปครับผม... แอะๆ ที่ผมมองๆ ไว้ก้เจ้า IC LM331 หรือ LM231 นี่ล่ะครับน่าจะเป็นตัวเลือกได้ ซึ่งการต่อยอด ของวงจรนี้คือ เราจะสามารถออกแบบกำหนดให้ ระบบ PAS ที่มีอยู่นั้นสามารถกำหนดได้ด้วยว่า จะให้ปั่นช่วยเรา กี่ % จะ 50:50 , 70:30  หรือจะตามความต้องการได้เลย โดยการปรับความถี่ของวงจรนี้ให้เหมาะสมกับ รอบการปั่นของขาเรา ตามต้องการ..

**** วงจรนี้จึงจะเหมาะกับรถจักรยานไฟฟ้าที่ ****

- มีแต่ระบบช่วยปั่นอย่างเดียว แล้วอยากมี คันเร่ง

- มีแต่คันเร่งอย่างเดียว แล้วอยากมี ระบบช่วยปั่น

- อยากปรับระบบช่วยปั่น ให้มีความหลากหลาย เช่นปกติเดิมๆ คนปั่น 30% มอเตอร์ช่วย 70% ก็อยากเป็น คน 50% มอเตอร์ 50% หรือจะ คน 70% มอเตอร์ 30% หรือจะแล้วแต่ปรับเลยล่ะกัน (โจทย์ข้อนี้ ยากอยู่เหมือนกัน ต้องค่อยๆ ศึกษาทดลองกันต่อไป)


    ลงมือทดลองเก็บข้อมูลและเริ่มทดลองวงจร !!  (28/02/58)

      จากการทดลองศึกษาหาความสัมพันธ์การทำงานของ PAS Sensor และกล่องควบคุมจึงพบว่ามีการทำงาน 2 รูปแบบคือ แบบ Active Low และ แบบ Active High กล่าวคือแบบ Active Low เมื่อมีสนามแม่เหล็กตัดผ่าน Sensor จะทริกลงกราว์ทันที แบบนี้ขาสัญญาณในสภาวะปกติ จะเป็น High ตลอด (PullUp) ส่วน PAS แบบ Active High นั้น จะทริกเป็นไฟ +5V เมื่อมีสนามแม่เหล็กตัดผ่าน ฉะนั้นขาสัญญาณแบบนี้ในสภาวะปกติ จะเป็น Low หรือ PullDown ไว้นั่นเอง

                                
 ตัวอย่างรูปสัญญาณจาก PAS Sensor แบบ Active Low เมื่อไม่มีการปั่น       ตัวอย่างรูปสัญญาณจาก PAS Sensor (Active Low) เมื่อเริ่มปั่น

     ++++ เริ่มออกแบบวงจร Throttle to PAS +++++
 
    สำหรับกล่องควบคุมที่ใช้ PAS Sensor แบบ Active High นั้น เมื่อเราต้องการนำคันเร่งมาต่อใช้งาน สามารถนำคันเร่งมาต่อ Jump ร่วมกับ PAS Sensor ได้เลย โโยไม่ต้องมีวงจรแปลงแต่อย่างไร จากการทดลองพบว่า สามารถใช้งานได้ดี เหมือนบิดคันเร่งทั่วไปเลยทีเดียว แต่ถ้าเราจะให้กล่องควบคุมแบบที่ใช้ PAS Sensor แบบ Active Low อยู่แล้วต้องการใส่คันเร่งนั้น ไม่สามารถนำคันเร่งมาต่อพ่วงได้โดยตรงเหมือนระบบแรก ที่กล่าวไป เพราะรับบแบบ Active Low นี้จะคอยรับสัญญาณที่มาในรูปแบบสัญญาณพัลล์ ดังรูปตัวอย่างสัญญาณที่ผมจับได้ จริงจากหน้างานโดยดิจิตอลออสซิสโลสโคป จึงต้องออกแบบวงจรแปลงสัญญาณจากคันเร่งสู่สัญญาณ PAS ต่อไป...


    ออกแบบ และ Simulate วงจรเพื่อแปลงสัญญาณจากคันเร่งเป็นสัญญาณแบบระบบ PAS โดยใช้ไอซี LM331 ออกแบบให้วงจรกำเนิดสัญญาณเริ่มต้นที่ 1Hz - 20Hz เพราะ PAS Sensor มีย่านความถี่ใช้งานดังกล่าว พบว่าสามารถควบคุม มอเตอร์ได้จริง เร่งหรี่ได้ด้วยคันเร่งแปลงสัญญาณให้ออกไปเข้า สาย PAS ของกล่องควบคุม ขั้นตอนต่อไปคือ ออกแบบวงจรนี้ให้สามารถ กำหนดรอบการปั่นตามความเหมาะสมของนักปั่นให้ได้ตามใจชอบ โดยใช้วอลุ่ม เพื่ือที่จะได้สามารถปรับระบบช่วยปั่นนี้ได้ตั้งแต่ 0 -100% (ซึ่งในท้องตลาดจะสามารถปรับได้เพียง 1-3 ระดับ เท่านั้น !!

 












 
  สัญญาณจาก วงจร Throttle to PAS เมื่อเริ่มบิดคันเร่ง
 












 
สัญญาณจากวงจร Throttle to PAS เมื่อบิดคันเร่งสุดมอเตอร์ทำงานเต็มที่
 
ตัวอย่างวงจร F to V สามารถนำไปแปลงสัญญาณจาก PAS
เป็นสัญญาณแรงดัน แบบคันเร่งได้ เหมาะสำหรับ
" รถที่ไม่มีระบบช่วยปั่น แต่มีคันเร่ง "

 
ตัวอย่างวงจร V to F สามารถนำไปแปลงแรงดันจาก
คันเร่งเป็นสัญญาณเข้าระบบ PAS เดิมของรถได้ เหมาะสำหรับ
" รถที่มีแต่ระบบช่วยปั่น แต่ไม่มีคันเร่ง "