JustMakeWeb.com รับทำเว็บไซต์ รับทำเว็บโรงแรม รับทำเว็บขายของ รับทำเว็บบริษัท เว็บสำเร็จรูป รับทำเว็บร้านค้า ออกแบบเว็บไซต์ ใช้งานได้ง่าย รองรับ SEO โปรโมท GOOGLE ให้ติดอันดับได้อย่างรวดเร็ว , ลงโฆษณาฟรี VPS ราคาถูก
รับทำเว็บไซต์
0
สถิติเว็บไซต์
เปิดเว็บเมื่อ : 2007-03-05
จำนวนสมาชิก : 578 คน
ปรับปรุงเมื่อ : 2024-04-04
จำนวนครั้งที่ชม : 13,086,816 ครั้ง
Online : 31 คน
จำนวนสินค้า : 331 รายการ
ทะเบียนพาณิชย์
สนใจ สงสัย ไลน์ มาได้

 
  ID ระบบ : @440aburo
ร้านค้า
ถูกใจ Like เลย
มอเตอร์ไซด์ไฟฟ้า จดทะเบียน
รวมบทความและผลงาน
โฆษณา Google Adsense


พื้นที่โฆษณา แลกลิ้งค์




ปั้มน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ ด้วย Hubmotor 36V350W

2016-04-29 12:25:08 ใน ปั้มน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ ด้วย Hubmotor 36V350W » 0 4032 ขอขอบคุณ ข้อมูลการจัดทำปั้มน้ำ พลังงานแสงอาทิตย์ จาก พ.อ.อ.สุเทพ  งามศรีขำ

    ปั้มชักใช้ฮับมอเตอร์ 36V350W ใช้โซลาร์เซล์จ่ายโดยตรงไม่ต้องใช้แบต ใช้อัตราทด 1 : 1.5 คือใช้ฟันสเตอร์ที่ปั๊ม 32 ที่มอเตอร์ 21 หมุนคล่องเลยครับ ใด้น้ำแบบเต็มท่อ กินกระแสไม่เกิน 2 แอมป์ กินไฟไม่เกิน 100 วัตต์ แต่แนะนำให้ใช้แผง 280-300 วัตต์เลย เพราะจะสามารถจ่ายกระแส ให้ปั้มทำงานได้แบบตลอดวัน แม้แต่แสงยามเย็น ปกติมอเตอร์ตอนใช้เป็นจักรยานไฟฟ้ากินกระแส 7 -15A แต่ถ้ามาใช้งานเป็นปั้มน้ำแบบนี้ กินกระแสต่ำมาก ใช้กันยาวๆ ลืมไปเลยล่ะครับ....

ข้อดี ข้อเสียของการใช้มอเตอร์แบบนี้

ข้อดี : Motor เป็นประเภท Brushless ไม่มีแปรงถ่าน ไร้การสึกหรอ หรือซ่อมบำรุงดูแล กันในระยะยาว กินไฟน้อยกว่า ลดการสูญเสียพลังงาน เสียงเงียบ ปรับรอบการใช้งานได้ตามความเหมาะสม เนื่องจากข้อดีเหล่านี้ ผู้จัดสร้าง
จึงเปลี่ยนมาทดลองใช้ มอเตอร์ไม่มีแปรงถ่านแบบนี้นั่นเองครับผม..

ข้อเสีย :  ราคาสูงกว่า DCMotor แบบมีแปรงถ่าน อีกทั้งมอเตอร์ต้องใช้กล่องควบคุม ในการขับเคลื่อน ไม่สามารถต่อไฟตรงให้มอเตอร์หมุนได้เหมือน DCMotor แบบธรรมดา ซึ่งก็อาจจะยุ่งยากต่อการใช้งานสำหรับผู้ที่ไม่ค่อยทราบรายละเอียด (แต่สอนและเรียนรู้กันได้ ไม่ยาก)

หากท่านใดสนใจหรือ ต้องการทราบข้อมูลโดยตรง สามารถสอบถามได้ที่
083-1910925

 

 






แถมท้าย อีก !! Brush less Dc Motor Control (sensor less) auto start for water pump V1.0    

  กล่องควบคุมบัสเลท มอเตอร์ ส่วนใหญ่ มี 2 แบบ คือ แบบมี เซนเซอร์ มอเตอร์ และ แบบไม่มี เท่าที่ทราบ จากลูกค้าที่นิยมนำไปทำปั้มน้ำ ว่า....

  แบบต้องต่อ Sensor จะสามารถ ทำงานได้เอง แม้ คันเร่ง ไม่เริ่มจากศูนย์  จึงเหมาะสำหรับทำปั้ม เพราะ ไฟมา ทำงาน ไม่มีไฟ หยุดทำงาน แต่ ข้อเสียคือ หากเซนเซอร์ ในมอเตอร์เสีย ก็ ต้อง รื้อ มอเตอร์ เพื่อเปลี่ยน Hall Sensor ในมอเตอร์ ส่วนใหญ่ ก็จะ เปลี่ยนยก ชุด ทั้ง 3 ตัวเลย อีกทั้งหาก จะปรับเปลี่ยนทิศทางหมุนนั้น ต้องแก้ไขที่กล่องหาก กล่องมีโหมด กลับทางก็ OK แต่ถ้าไม่มี ต้องไล่สลับสาย กันวุ่นเลยทีเดียว

  แบบไม่ต้องต่อ Sensor หรือ ที่เรียกกันว่า Sensor less แบบนี้ ต่อแค่สายเฟสมอเตอร์ ก็ ทำงานได้แล้ว หาก ต้องการสลับทิศทาง ทำง่าย โดย การสลับสายมอเตอร์ คู่ใดคู่หนึ่ง ก็ สลับทิศทางการหมุนได้แล้ว  อีกทั้งไม่ต้องมาคอย กังวลว่า Sensor จะเสียมะไร ใช้กันยาวๆไปเลย แต่ ด้วยกล่องแบบนี้ มักจะมี ระบบ Safety ป้องกันอันตรายจาก การบิดคันเร่งค้างไว้ แล้ว จ่ายไฟเข้าระบบ เป็นข้อดี ในรถไฟฟ้า แต่ ไม่ดี สำหรับทำปั้มน้ำ...

   เพื่อแก้ไข จุดบอดนี้ จึงเป็นที่มา ของการทดลอง พัฒนากล่องควบคุม ประเภทนี้ ให้ Auto Start ได้เอง โดยการใช้โมดูลเสริม เพื่อตรวจจับแรงดันอินพุต และ ค่าของคันเร่งจากวอลุ่มควบคุมความเร็ว และมาควบคุมการทำงานของกล่องควบคุมอีกทีนั่นเอง....