JustMakeWeb.com รับทำเว็บไซต์ รับทำเว็บโรงแรม รับทำเว็บขายของ รับทำเว็บบริษัท เว็บสำเร็จรูป รับทำเว็บร้านค้า ออกแบบเว็บไซต์ ใช้งานได้ง่าย รองรับ SEO โปรโมท GOOGLE ให้ติดอันดับได้อย่างรวดเร็ว , ลงโฆษณาฟรี VPS ราคาถูก
รับทำเว็บไซต์
0
สถิติเว็บไซต์
เปิดเว็บเมื่อ : 2007-03-05
จำนวนสมาชิก : 578 คน
ปรับปรุงเมื่อ : 2024-04-04
จำนวนครั้งที่ชม : 13,086,440 ครั้ง
Online : 33 คน
จำนวนสินค้า : 331 รายการ
ทะเบียนพาณิชย์
สนใจ สงสัย ไลน์ มาได้

 
  ID ระบบ : @440aburo
ร้านค้า
ถูกใจ Like เลย
มอเตอร์ไซด์ไฟฟ้า จดทะเบียน
รวมบทความและผลงาน
โฆษณา Google Adsense


พื้นที่โฆษณา แลกลิ้งค์




รถไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ Flexible Solarcell 295W x 3

2015-09-10 18:17:45 ใน รถไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ Flexible Solarcell » 0 6387   รถไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ Flexible Solarcell 295W x 3 จ่ายไฟให้กับ Hubmotor 48V1000W
 

    แนวทางการทดลอง :  

    
เพื่อทดสอบแผงโซาร์เซลล์รุ่นใหม่ Flexible sunpower panel Solarcell !! ประสิทธิภาพสูง เบาบาง ขนาด 295W ด้วยน้ำหนักเพียง 5 kg. แถมโค้งงอเข้ารูปได้ง่าย ทำให้ประหยัดเนื่อที่กว่าแผงโซลาร์เซลล์รุ่นก่อนๆ ที่มีข้อจำกัดด้วยขนาด และน้ำหนักมหาศาล 27kg/แผง ซึ่งด้วยข้อดีเรื่องน้ำหนัก จึงทำให้ผมกลับมาวิจัยทดลองรถไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบ 100% อีกครั้ง (เมื่อก่อนยังไม่มีแผงแบบนี้) เพราะเห็นความเป็นไปได้ในการจ่ายกระแสและแรงดันของแผง อีกทั้งเรื่องของน้ำหนัก จึงจะทำการทดลอง Motor , Battery และ Solar Cell ดังนี้

  - ทดสอบการจ่ายพลังงานจากแผง Solar Cell เพื่อขับเคลื่อน HubMotor 48V1000W 100% โดยไม่ใช้แบตเตอรี่ 

    ผลการทดลอง : สามารถจ่ายไฟให้มอเตอร์ได้กระแส 5-7A และแรงดัน 50-60V (ตามความเข้มของแสง) ซึ่งเพียงพอจ่ายพลังงานให้กับมอเตอร์ให้รถวิ่งได้ในแนวราบ ความเร็วสุงสุดที่ทำได้ จากการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ 100% (น้ำหนักรถพร้อมคนขับ 188 กก.)  ได้  20 กม/ชม.

     - ต่อร่วมกับ Grid Tie Invertor ขนาด 1500W (45-90VDC Input) เพื่อจ่ายไฟคืนกลับสู่การไฟฟ้าเวลาไม่ได้ใช้งานรถ จอดตากแดดอยู่กับที่ ซึ่งตอนนี้ทดลองใช้ Solar cell แบบ Poly ขนาด 120W x 4 กับ Grid Tie Invertor 500W
      ผลการทดลอง : ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ สามารถประหยัดค่าไฟฟ้าและจ่ายคืนการไฟฟ้าได้จริง ดังคลิบ -----> คลิ๊ก
 
    - ออกแบบระบบชาจ์ทแบตเตอรี่ในระบบ (LiFePO4 60V10AH) ด้วยพลังงานจาก Solar Cell 295W ทั้ง 3 แผงนี้
      ผลการทดลอง : สามารถชาจ์ทแบตได้กระแส 3-4A สามารถชาจ์ทแบตให้เต็มได้ภายใน 3 ชม.  และตัดการชาจ์ทอัติโนมัติโดยแผง BMS ที่แรงดัน 73V (3.65V / Cell) ซึ่งเป็นผลพลอยได้ของการใช้แบตประเภทนี้ที่มี BMS คอยดูแลแบตแต่ละเซลล์ ทั้ง 20 cell แต่ต้องห้ามให้แรงดันเกินสเปคของแบตคือ 3.65V ต่อเซลล์ เพราะจะทำให้ BMS คุมการชาจ์ทได้ไม่ดีพอและร้อนมาก ส่งผลให้เซลล์แบตเสื่อมได้ !! (ใช่แล้วครับ ผมก็โดนไป 2 เซลล์แล้ว จะเป็นเซลล์ด้านบนสุดที่เป็นขั้วบวก สาเหตุจากไฟโซลาร์เกินไปถึง 85V ช่วงแดดจัดๆ

     ข้อมูลเพิ่มเติมจากการทดลอง :
 
    1.พบว่าแผงที่โค้งงอ ไม่เป็นผลดีต่อประสิทธิภาพการรับแสง ซึ่งจะทำให้
ได้กระแสที่น้อยกว่าความเป็นจริง เพราะบางเซลล์ที่อนุกรมกันในแผงนั้น เมื่อได้รับมุมอับแสงจะทำให้กระแสทั้งแผงตกไปด้วย
 
    2. ส่วนเรื่องน้ำหนักของรถที่มากถึง 135kg. บวกกับ หลังคาที่ต้านลมมาก จึงทำให้มอเตอร์กินกระแสสูงต่อเนื่องกว่า 20A ซึ่งจะทำให้รถวิ่งได้ไม่นาน ประมาณไม่ถึง ชม. สำหรับแบตขนาด 10Ah (20 - 30 กม) แต่หากแบตเตอรี่มีขนาดความจุที่สูงมากขึ้น ก็จะวิ่งได้ระยะทางสูงขึ้นเช่นกัน ณ จุดนี้ได้แก้ไขติดตั้งระบบเกียร์ ดังรูปด้านล่าง เพื่อช่วยให้มอเตอร์รับภาระน้อยลงตาม สภาพการใช้งานบนถนนจริง ทำให้รถสามารถวิ่งได้ระยะทางสูงขึ้น
 
    3. รถสามารถวิ่งได้จากพลังงานแสงอาทิตย์อย่างเดียวต่อเนื่อง ที่ความเร็ว 20 กม/ชม. ที่กำลังไฟฟ้าประมาณ 300W (แรงดัน 52V กระแส 6A) คิดเป็นประสิทธิภาพแผงได้เพียง 30% หากโซลาร์เซลล์ประสิทธิภาพเต็มที่จะได้ความเร็ว 30-40 กม/ชม. สาเหตุมาจาก การโค้งงอแผ่นทำให้กำลังในการรับแสงตกลงไป อีกทั้งบางแผ่นมี cell ที่แตกร้าวจากการทดลองบิดงอแผ่นมากเกินไปจากความทดลอง ซึ่งจุดนี้สำคัญมากสำหรับการใช้งานแผงประเภทนี้ ควรออกแบบติดตั้งให้ได้มาตฐาน และบิดงอ มากเกินไป
 
    
    ประมวลภาพการพัฒนาและปรับปรุง :



    
     ทำการย้ายมอเตอร์มาติดตั้งกลางตัวรถและทำเฟืองส่งกำลังไปล้อหลัง ผ่านระบบเกียร์จักรยาน 8 เกียร์ เพื่อปรับความเร้วและแรงบิดให้เหมาะสมกับการใช้งานบนท้องถนน เช่นตอนขึ้นสะพาน หรือช่วงต้องการความเร้ว อีกทั้งช่วยให้เราปั่นเท้าได้โดยไม่หนักแรงโดยการใช้เกียร์ต่ำเวลาแบตหมดและไม่มีแสงอาทิตย์ จากการทดลองพบว่าหากเราใช้เกียร์ต่ำและ คุมความเร้วไว้ไม่ให้เกิน 30km/hrs. (ความเร็วสูงสุด 47กม/ชม) รถจะกินกระแสไม่เกิน 10A จะทำให้รถวิ่งได้ระยะทางมากกว่า 25-30km. และดัดแปลงติดตั้ง โช้คหน้า เพื่อความนิ่มนวลตอนขับขี่มากขึ้นครับผม และน้ำหนักสุทธิ 155 kg.

  

   
   แก้ไขออกแบบหลังคาใหม่ โดยใช้อลูมิเนียมตีเป็นโครงเพื่อลดน้ำหนัก ไปได้ 25 กก. (น้ำหนักเหลือ 130 กก) และง่ายต่อการซ่อมใต้แผง กรณีแผงชำรุด (จุดเชื่อมต่อระหว่าง cell ขาด) และทดลองวิ่งด้วยระบบไฟฟ้าในตัวรถ และควบคุมให้ความเร็วคงที่ไม่เกิน 30กม/ชม โดยไม่ต่อชาจ์ทกับไฟบ้าน สามารถวิ่งได้แล้วเกือบ 100 กม. โดยไม่ได้วิ่งต่อเนื่อง ใช้งานในระยะแค่ 10 กม. แล้วจอดตากแดดชาจ์ท โดยไม่เสียบไฟบ้าน
ข้อมูล ณ วันที่ 28-08-14

 

   
     เนื่องจากปัญหาการควบคุมแรงดันในการชาจ์ทลงแบตไม่คงที่ (ส่งผลให้เซลล์แบตเสียหาย) และพลังงานไฟฟ้าที่ได้จากแสงอาทิตย์จะเหลือทิ้ง หลังจากแบตถูกชาจ์ทเต็มแล้ว ขณะที่รถนำออกไปวิ่งใช้งาน ส่วนกรณีจอดที่บ้านจะนำมาผลิตไฟฟ้าผ่าน Grid Tie Invertor คืนการไฟฟ้า  ซึ่งและปัญหาแบตหมดระหว่างทางทำให้ต้องจอดรอการชาจ์ทจากแสงแดด ทำให้เสียเวลา ซึ่งหากจะให้แบตมีขนาดความจุที่มากขึ้น ก็จะต้องใช้งบประมาณอีกเป็นหมื่นบาท จึงแก้ปัญหานี้ทั้งเรื่องการชาจ์ทแบบสมบูรณ์แบบและพลังงานที่เหลือ และปัญหาแบตหมด จึงออกแบบระบบไฟสำรองโดยเพิ่มแบตแห้ง 12V20AH ขนานกัน 2 ลูก ผ่านการชาจ์ทหลักด้วย Control Charge 10A ซึ่งรับพลังงานจากแผงหลัง (ผ่าตัดแผงให้แรงดันออกไม่เกิน 40V เพราะ Control Charge รับแรงดันอินพุทไม่เกิน 40V) การชาจ์ทลงแบตนี้ เปรียบสเมือนเขื่อน หรือจะเรียกว่า Power Bank ก็ตามที่ค่อยๆ เก็บพลังงานจากแสงไว้ แล้วนำมาจ่ายเป็น 220V เพื่อใช้งานชาจ์ทแบต 60V ในระบบ โดยใช้เครื่องชาจ์ทของมันเอง หรือ จะใช้เป็นรถผลิตไฟฟ้าชั่วคราวแบบเคลื่อนที่ ก็ได้เช่นกัน ซึ่งการชาจ์ทลงแบตสำรอง ขนาด 12V40AH นี้จะมี 2 ระบบคือ
   
    กรณีรถวิ่งใช้งานจะใช้แผงหลังเป็นหลัก ชาจ์ทโดยผ่าน Control Charger 10A และ อีกกรณีคือตอนที่รถจอด 2 แผงหน้าจะช่วยชาจ์ทด้วยคือ จะแปลงไฟลงมา โดยผ่าน DC-DC Convertor 36-96V to 12V เพื่อมาช่วยชาจ์ทแบตสำรองชุดนี้อีกเช่นกัน สรุปว่าเราสามารถชาจ์ทเติมเต็มแบต 60V หลัก ได้ตลอดเวลาที่มีแสงและมีไฟในแบตสำรอง 12V40AH นี้ ซึ่งต้องแลกมาด้วยน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นมาอีก เกือบ 15 กก. ก็เพื่อแก้ปัญหาต่างๆ เหล่านี้  

  
  สรุปผลการทดลอง ขั้นสมบูรณ์แบบ !! (สภาพแผงโซลาร์ ประสิทธิภาพเหลือ 50%)

  1. รถสามารถผลิตไฟฟ้า 220VAC แบบเคลื่อนที่ขนาดไม่เกิน 500W ได้ สามารถ เปิดทีวี LCD, พัดลม หรือชาจ์ทโทรศัพท์ได้
 
  2. กรณีใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ 100% (ไม่ใช้แบตในระบบ) รถสามารถวิ่งไปได้เรื่อยๆ ที่ทางราบ ความเร็ว 20 กม/ชม. กินพลังงาน 300W (แรงดัน 52V กระแส 6A) หากแผงปกติดี ไม่เสียหาย จะสามารถจ่ายไฟได้ตามสเปคคือ 590W (295 X 2 แผง) ก็จะวิ่งได้ความเร็วถึง 40 กม/ชม. เลยทีเดียว
 
  3. กรณีไม่มีแสงแดดเลย รถสามารถวิ่งได้ระยะทาง 20-30 กม. แล้วแต่สภาพถนนและลมต้าน ด้วยแบตเตอรี่ในระบบ คือ 60V10Ah (600Wh)  และระบบไฟสำรอง 12V40Ah (480Wh สำหรับเป็นไฟสำรองชาจ์ทแบต 60V)
 
  4. คิดที่สภาพแผงปัจจุบันจ่ายไฟได้สูงสุดที่ 300W แต่ตามเสปคแผงควรได้ถึง 590W (ประสิทธิภาพเหลือ 50%) กรณีมีแสงแดดทั้งวัน และวิ่งด้วยความเร้วคงที่ (ทางราบ) 30 กม/ชม. รถจะใช้กินกระแส 10-15A (แบต + โซลาร์เซลล์) จะทำให้รถวิ่งต่อเนื่องได้ 2-3 ชม. หรือระยะทางสูงสุดที่ 90 กม.  ฉะนั้นหากกำลังไฟฟ้าที่ได้จากแผงโซลาร์ได้ตามสเปคที่กำหนด ก็จะสามารถวิ่งได้ดีขึ้น ถึงอีกเกือบเท่าตัว !!

  5. สามารถใช้งานแผงโซลาร์เซลย์ให้ได้ประโยชน์สุงสุด โดยนำพลังงานที่เหลือชาจ์ทแบต Main มาชาจ์ทลงแบตสำรอง หรือจะนำมาผลิตเป็นไฟฟ้า AC220V เพื่อใช้งานตามกำลังไฟฟ้าที่ผลิตได้ในช่วงเวลานั้นๆ เลย เพราะเมื่อก่อนเมื่อแบตเตอรี่ Main 60V ถูกชาจ์ทเต็มแล้ว พลังงานแสงอาทิตย์ก็จะไม่ได้ถูกนำไปใช้ประโยชน์อื่นๆ เช่น กรณีนำไปจอดนอกสถานที่ (ปกติอยู่บ้านจะต่อพ่วงกับ Grid tie Invertor เพื่อผลิตไฟคืนการไฟฟ้า) เป็นต้น...  ข้อมูล ณ วันที่ 07-10-14